1. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรม
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต การลงทุน พานิชยกรรม
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการส่งเสริมด้านการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
6. ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร
2.แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5.ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6.ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
3.ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้้าในสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
ยุทธศาสตร์ที่ ๘ : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ ๙ : การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ : ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
4.แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
- แผนพัฒนาภาคกลาง
4.1.1 พัฒนากรุงเทพฯ เป็นมหานครที่ทันสมัยระดับโลกควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง
4.1.2 พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติและสร้างความเชื่อมโยงเพื่อกระจายการท่องเที่ยวทั่วทั้งภาค
4.1.3 ยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมโดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4.1.4 การบริหารจัดการย้ำและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งและคงความสมดุลของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
4.1.5 เปิดประตูการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เชื่อมโยง เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย- ภาคกลาง – ระเบียงเศรษฐกิจและสังคมกับทุกภาคเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ
4.2.แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ( จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง )
4.2.1 เพิ่มความสามารถในการผลิตอาหารปลอดภัย ยกระดับผู้ประกอบการ SME ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม เพื่อรองรับเศรษฐกิจ 4.0
4.2.2 ฟื้นฟูและยกระดับแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ชุมชนและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ตามมาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว
4.2.3 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสักในกลุ่มภาคกลางตอนบนอย่างสมดุลและยั่งยืน
- พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมโลจิสติกส์ ขนส่งมวลชน เพื่อส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ
4.3 ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดลพบุรี (พ.ศ.2561-2564)
4.3.1 สร้างมูลค่าเพิ่มด้านอาหารปลอดภัย
4.3.2 การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว
4.3.3 พัฒนาจังหวัดลพบุรีเมืองสะอาดสังคมคุณภาพและความสงบสุขของบ้านเมือง
จุดแข็ง (Strength:S)
1) ผู้บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จึงทำให้เข้าใจปัญหา ความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งตอบสนองความต้องการ ปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
2) องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน จัดกรอบอัตรากำลังได้ตามภารกิจ อำนาจหน้าที่ จึงทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ รวมทั้งมอบอำนาจ กระจายอำนาจให้ แต่ละกองดำเนินการได้ด้วยตนเอง และบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ มีความรู้ความสามารถสูง ครอบคลุมทุกภาระกิจ
3) องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ มีเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์การปฏิบัติงาน ที่ทันสมัย ระบบสื่อสารและระบบสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ให้มีความสะดวก รวดเร็ว เหมาะสมกับปัจจุบัน
4) มีแผนพัฒนา แผนปฏิบัติการท้องถิ่นที่ชัดเจน มีการบูรณาจัดทำแผน การทำงาน ประสานงานร่วมกับหน่วยงานหรือส่วน ราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามระเบียบทางราชการ
5) องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการ ใช้จ่าย งบประมาณ เนื่องจากมีอิสระในการจัดเก็บรายได้และบริหารการใช้จ่ายงบประมาณได้เองด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ อย่างมีธรรมาภิบาล
จุดอ่อน (Weakness: W)
1) มีข้อจำกัดด้านบุคลากรและงบประมาณที่ต้องรองรับภารกิจในหน้าที่ นโยบายหรือกฏหมายที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี
2) งบประมาณยังไม่เพียงพอ ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ ไม่สามารถดำเนินได้เอง
3) สถานที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ คับแคบ ไม่สะดวกในการให้บริการประชาชนที่มาติดต่อ รวมทั้งสถานที่จัดประชุม สถานที่เก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ของเทศบาล
4) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผน การประชาคม การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ยังไม่ตระหนัก ให้ความสำคัญในสิทธิในการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็น
5) ประชาชนยังมีระบบความคิดแบบเดิมๆ ยังมีแนวคิดในเรื่องการจัดการด้านสาธารณะ ยังมีแนวคิดที่ว่าเป็นหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ
6) ประชาชนขาดความตระหนักในการดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างส่วนร่วม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
7) ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานตามชุมชนยังไม่ครอบคลุม ได้มาตรฐานครบทุกชุมชน
8) ปัญหาขยะตกค้างในพื้นที่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข การจัดการยังไม่ถูกวิธี
9) ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังไม่ถูกสุขลักษณะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง กลิ่น จากการขยายตัวของเมือง
10) ปัญหายาเสพติดที่ยังมีแพร่ระบาดอยู่ในพื้นที่
โอกาส (Oportunities : O)
1) แนวโน้มของรายได้ที่ได้รับจัดสรรมากขึ้นตามลำดับแผนกระจายอำนาจฯ
2) ลักษณะภูมิศาสตร์เป็นทางผ่านไปยังถนนสายเอเชีย เอื้อประโยชน์ต่อการขยายการค้า การขนส่ง การพาณิชย์ของประชาชนในตำบลโพธิ์ตรุ
3) ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีความสะดวก คล่องตัว สามารถสร้างช่องทางใน การสื่อสารข้อมูลกับประชาชนได้รวดเร็วขึ้น
4) มีสถานศึกษาอยู่ในพื้นที่ จำนวนหลายแห่ง ทุกระดับชั้น ซึ่งมีความพร้อมมีศักยภาพในการจัดการศึกษาอย่าง ทั่วถึงทุกระดับ
5) มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในบริเวณใกล้เคียงครอบคลุมการให้บริการในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตรุ
อุปสรรค (Threath : T)
1) สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ
2) ภาคการเกษตรกรรมมีปัญหาผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ
3) การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ก่อให้เกิด ภัยธรรมชาติซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนไม่มากก็น้อย
4) ความไม่มั่นคงทางการเมืองระดับประเทศมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณของเทศบาล ทำให้เกิด ความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนและระยะเวลาที่วางไว้
5) ประชาชนขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาท้องถิ่น